Temptations imagery

เทคนิคดูแลแมวอ้วนให้สุขภาพดี

เทคนิคดูแลแมวอ้วนให้สุขภาพดี

แมวเหมียวขึ้นชื่อเรื่องความน่ารักน่ากอด บวกกับมีนิสัยลึกลับน่าค้นหา ทำให้พวกเค้ากลายเป็นไอคอนที่โด่งดังไปทั่วโลกและถูกพูดถึงอย่างมากในโลกโซเชียล ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลให้บรรดาทาสแมวยิ่งหลงใหลคลั่งไคล้เจ้าเหมียวกันมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกับความนิยมที่เพิ่มขึ้น คือความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าแมวยิ่งอ้วนยิ่งดูน่ารัก  

เป็นความจริงที่ว่าแมวอ้วนดูน่ารักชวนให้ใจละลาย พอเห็นก็มักจะอดใจไม่ไหว ต้องเข้าไปกอดหรือคลอเคลีย และด้วยความน่ารักนี้เองทำให้เกิดกระแสการเลี้ยงแมวให้ตัวอ้วนกลม ซึ่งทาสแมวจำนวนมากก็เลือกที่จะทำตาม โดยไม่สนใจผลเสียหรือความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากมายที่อาจตามมา

โรคอ้วนในแมวคืออะไร?

เจ้าเหมียวเป็นนักกินตัวยง และไม่สามารถหักห้ามใจได้เมื่อถึงเวลากินอาหาร นิสัยกินเก่งหรือการให้อาหารปริมาณมากเกินไปเป็นสาเหตุของโรคอ้วนในแมว โดยน้ำหนักตัวที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ แต่หากน้องแมวมีน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 20% ขึ้นไป ก็จะถูกพิจารณาว่าอ้วน

แมวมีน้ำหนักเกินได้หรือไม่?

หากมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ประมาณ 10 - 20% ก็เท่ากับว่ามีน้ำหนักเกินแล้ว มันอาจจะไม่รุนแรงเท่าการเป็นโรคอ้วน แต่ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเจ้าเหมียวได้เช่นกัน โดยปัญหาน้ำหนักเกินอาจทำให้แมวเกิดความเครียด มีภาวะซึมเศร้า และระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อและเพิ่มความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักตัวเกิน เรามีเคล็ดลับดูแลสุขภาพแมวตัวอ้วนเหล่านี้มาฝากกัน

ผลกระทบจากการเป็นโรคอ้วน

  1. เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก

    น้องแมวสามารถกระโดดและปีนป่ายได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพราะความคล่องแคล่วว่องไวและขาหลังที่แข็งแรง แต่เมื่อมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น การกระโดดหรือปีนป่ายก็ยากขึ้นตามไปด้วย

  2. ช่วงเอวหนาขึ้น

    รูปร่างผอมเพรียวทำให้น้องแมวโดดเด่นจากสัตว์ชนิดอื่น การมีเอวคอดช่วยให้พวกเค้าเคลื่อนไหวผ่านพื้นที่แคบได้ง่าย แต่หากมีน้ำหนักเกิน ไขมันจะถูกเก็บสะสมบริเวณรอบเอว ทำให้เอวดูหนา

  3. สัมผัสไม่พบกระดูกซี่โครง

    การสัมผัสเป็นหนึ่งในวิธีตรวจสอบว่าน้องแมวมีน้ำหนักเกินหรือไม่ หากมีน้ำหนักเหมาะสม ลูบคลำผ่านลำตัวก็จะพบกระดูกซี่โครงได้ง่าย แต่หากมีน้ำหนักเกิน จะสัมผัสไม่พบกระดูกมีเพียงชั้นไขมันหนาเท่านั้น

  4. ตัวสกปรกและมีขนพันกัน

    ด้วยความยืดหยุ่นของร่างกาย ทำให้เจ้าเหมียวเลียตัวทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง แต่เมื่อมีน้ำหนักเกินก็มักจะสูญเสียความยืดหยุ่นนี้ไป ทำให้เลียขนได้ยาก ตัวจึงตัวสกปรกและขนเป็นสังกะตัง

  5. มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร

    น้องแมวที่น้ำหนักเกินมักจะเสี่ยงต่อปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากมีไขมันสะสมมากบริเวณลำไส้ ซึ่งขัดขวางการทำงาน และทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารลดลง

  6. ไม่ยอมลุกหรือขยับตัว

    น้องแมวมีนิสัยชอบเล่นและเต็มไปด้วยพลัง แต่เมื่อน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การเคลื่อนไหวร่างกายก็ยากขึ้นและมักจะหมดแรงได้ง่าย แมวอ้วนส่วนใหญ่จึงมักจะนอนเฉย ๆ หลีกเลี่ยงการลุกหรือเดินไปมา

สาเหตุของโรคอ้วนในแมว

  1. ไม่ออกกำลังกาย

    แมวที่ไม่ชอบออกกำลังกาย มีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนสูง เนื่องจากแคลอรีส่วนเกินถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกายในรูปแบบของไขมัน

  2. สภาพแวดล้อม

    แมวที่เลี้ยงในบ้านมักมีปัญหาน้ำหนักเกิน เพราะกิจวัตรประจำวันที่เรียบง่าย ไม่ค่อยใช้แรงและไม่ค่อยทำกิจกรรม

  3. ปัญหาสุขภาพ

    ปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ความผิดปกติของการเผาผลาญหรือต่อมไร้ท่อ ก็มีส่วนทำให้น้องแมวอ้วนได้

  4. สูตรอาหาร

    การให้อาหารแมวที่มีแคลอรีสูงเป็นประจำ อาจนำไปสู่โรคอ้วนและเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพแมวที่ร้ายแรง

  5. ให้อาหารมากเกินไป

    น้องแมวมักจะหยุดกินไม่ได้ การให้อาหารมากเกินอาจนำไปสู่ปัญหาน้ำหนักตัวและเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

  6. การกินอาหารเร็ว

    การกินอาหารเร็วหรือมูมมามถือเป็นสาเหตุหลักของปัญหาน้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วนในแมว

  7. ารให้ขนมมากเกินไป

    ขนมแสนอร่อยอาจดีต่อใจ แต่หากให้มากไปก็ส่งผลให้เกิดโรคอ้วนได้ เนื่องจากขนมมีปริมาณแคลอรีสูง

ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน

  1. เบาหวาน

    โรคอ้วนส่งผลให้อินซูลินไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต่อการสลายน้ำตาล แมวอ้วนเกินไปจึงมีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่ายขึ้น

  2. ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

    นักวิจัยเชื่อว่าระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นผลมาจากโรคอ้วนในแมว ทาสแมวจึงควรดูแลไม่ให้แมวตัวอ้วนกลมจนเกินไป

  3. ตับวาย

    เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่อันตรายถึงชีวิต โดยไขมันส่วนเกินจะขัดขวางการทำงานของตับ ซึ่งนำไปสู่ภาวะตับวายได้<7p>

  4. โรคหัวใจ

    น้องแมวที่น้ำหนักตัวมากเกินไปมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าปกติ โดยทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้

  5. โรคระบบทางเดินหายใจ

    เนื่องจากมีไขมันส่วนเกินสะสมบริเวณหลอดลม จึงทำให้หายใจลำบาก และนำไปสู่ความผิดปกติที่รุนแรงได้ในที่สุด

  6. ภาวะคลอดยาก

    โรคอ้วนเป็นสาเหตุหลักของภาวะคลอดยาก เนื่องจากการสะสมของไขมันทำให้การบีบตัวของมดลูกไม่ดีและเกิดขึ้นไม่บ่อย

วิธีลดน้ำหนักให้แมวอ้วน ทำอย่างไรได้บ้าง?

  1. กำหนดปริมาณแคลอรี

    อาหารแคลอรีสูงเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคอ้วน บวกกับชอบกินขนม เนื้อวัว และเนื้อหมูรมควันซึ่งมีแคลอรีสูงด้วย เพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักเกิน ควรควบคุมปริมาณแคลอรี รวมถึงเลือกสูตรอาหารที่เหมาะสมและมีสารอาหารครบถ้วน

    เทมเทชันส์™ พ็อคเก็ต ขนมของเจ้าเหมียวสายกิน อร่อยกรุบกรอบสอดไส้ครีม แคลอรีต่ำ เพียง 2 แคลอรีต่อหนึ่งเม็ด อร่อยเพลินไปกับเทมเทชันส์™ ครีมมี่ เพอเร่ เพียง 8 แคลอรีต่อซองก็ได้

  2. ให้อาหารตามเวลา

    แม้ว่าการให้อาหารแบบอิสระจะสะดวกต่อทาสแมวหลาย ๆ คน แต่มันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้องแมวตัวอ้วนกลม เนื่องจากพวกเค้าสามารถกินอาหารได้ตลอดเวลาและมากเท่าที่ต้องการ วิธีนี้จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับบ้านที่ต้องการควบคุมน้ำหนักแมว ในทางกลับกันเจ้าของควรจัดตารางเวลาและกำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสม โดยสามารถเลือกใช้เครื่องให้อาหารแบบอัตโนมัติเป็นตัวช่วยด้วยก็ได้

  3. ออกกำลังกาย

    การออกกำลังกายเป็นการป้องกันโรคอ้วนที่ดีที่สุดและช่วยให้แมวอ้วนลดน้ำหนักส่วนเกินได้ สำหรับน้องแมวที่เลี้ยงระบบปิดหรือเลี้ยงในบ้าน อาจมีกิจกรรมให้เลือกทำไม่มาก โดยวงล้อออกกำลังกายเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับแมวตัวอ้วนในบ้าน เพราะทั้งสนุกและได้เคลื่อนไหวร่างกายนานหลายชั่วโมง เจ้าของอาจหาเกมสนุก ๆ มาให้พวกเค้าทำก็ได้ นอกจากจะช่วยลดน้ำหนักแล้ว ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกด้วย

  4. การรักษาด้วยยา

    แม้ว่าการรักษาด้วยยาจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มันเป็นทางเลือกสุดท้ายที่สัตวแพทย์จะแนะนำ โดยจะใช้เมื่อน้องแมวไม่สามารถลดน้ำหนักได้เองหรือเริ่มแสดงอาการผิดปกติทางสุขภาพขั้นรุนแรง ยา Bupropion naltrexone, Liraglutide และ Orlistat เป็นยาที่นิยมใช้กับแมวอ้วนเกินไป ทั้งนี้เจ้าของไม่สามารถให้ยาด้วยตัวเองได้ ควรให้ตามคำแนะนำของคุณหมอเท่านั้น

  5. ปรึกษาสัตวแพทย์

    แม้ว่ายาบางชนิดจะรักษาโรคอ้วนในแมวได้ผลดี แต่ควรใช้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น หากน้องแมวอ้วนเกินไปหรือเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เป็นอันดับแรก เนื่องจากการตรวจสุขภาพจะช่วยให้วินิจฉัยได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าสาเหตุที่แมวอ้วนเกินไปมาจากความผิดปกติทางร่างกายหรือไม่ มีปัญหาสุขภาพใดแอบแฝงอยู่หรือเปล่า นอกจากนี้คุณหมอยังสามารถแนะนำสูตรอาหารสำหรับควบคุมน้ำหนักและวิธีการดูแลที่เหมาะสมได้อีกด้วย

ถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปัญหาแมวอ้วน

  1. น้องแมวควรมีน้ำหนักเท่าไหร่?

    น้ำหนักที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับช่วงวัยและสายพันธุ์ น้องโตเต็มวัยควรมีน้ำหนักประมาณ 4 - 9 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

  2. ทำหมันแล้วน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นใช่หรือไม่?

    แมวหลังทำหมันอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมันส่งผลต่อพฤติกรรมและการทำกิจกรรม รวมถึงทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลชั่วคราว ความอยากอาหารจึงเพิ่มขึ้น

  3. ควรให้น้องแมวในบ้านออกกำลังกายอย่างไร?

    การเล่นเป็นวิธีออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับแมวในบ้าน ควรเลือกเกมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย หรือใช้วงล้อสำหรับวิ่งแทนก็ได้

  4. แมวอ้วนมีภาวะซึมเศร้าได้หรือไม่?

    แมวส่วนใหญ่ชอบเล่น แต่การเคลื่อนไหวร่างกายอาจเป็นเรื่องยากสำหรับแมวตัวอ้วน ซึ่งอาจทำให้พวกเค้ารู้สึกเครียดและกังวลได้

  5. ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนลดน้ำหนักให้แมวไหม?

    น้ำหนักที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับอายุและสายพันธุ์ บวกกับน้องแมวอาจมีโรคประจำตัวที่ทำให้อ้วน จึงควรปรึกษาคุณหมอให้ดีก่อน

X

ซื้อเลย