Temptations imagery

ตารางให้อาหาร และวิธีให้อาหารลูกแมว

ตารางให้อาหาร และวิธีให้อาหารลูกแมว

การให้อาหารแมวไม่ใช่แค่การเทอาหารลงในชาม แต่ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องพิจารณาความต้องการทางโภชนาการของแมว และควรจัดตารางให้อาหารแมวอย่างเหมาะสม โดยในบทความนี้ เราจะตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้อาหารแมว ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการอาหาร การเลือกชนิดของอาหาร และการกำหนดปริมาณ พร้อมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการให้อาหารอย่างอิสระและการให้อาหารตามเวลาเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับพ่อแม่แมวทุกคน

ควรให้อาหารแมวแบบไหน และควรให้ปริมาณเท่าใด?

แมวเป็นสัตว์กินเนื้อ นั่นหมายความว่าพวกเค้าต้องการอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ซึ่งอาหารแมวสำเร็จรูปส่วนใหญ่ก็ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการของพวกเค้า พ่อแม่แมวควรมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมถึงมีวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งนี้พ่อแม่บางคนอาจเลือกให้อาหารบาร์ฟหรือปรุงอาหารเองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าเหมียวของคุณจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน

การกำหนดปริมาณอาหารขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อายุ น้ำหนัก ระดับกิจกรรม และสุขภาพโดยรวม อาจต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจวิธีเลี้ยงแมวอายุ 1 เดือน แมวโตเต็มวัย ตลอดจนแมวสูงวัยเพิ่มเติม เพื่อให้กำหนดปริมาณอาหารได้ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม พ่อแม่แมวสามารถกำหนดปริมาณอาหารตามคำแนะนำที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์ของอาหารแมวได้ แต่ทางที่ดีควรตรวจเช็กสภาพร่างกายของแมวและปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม การจัดตารางให้อาหารแมวก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน โดยการให้อาหารแมวมี 2 วิธี คือการให้อาหารอย่างอิสระและการให้อาหารตามเวลา

เรามาดูกันว่าควรให้อาหารเจ้าเหมียวเวลาใด ควรเลือกอาหารแบบไหน และควรกำหนดปริมาณอาหารเท่าใด พร้อมเรียนรู้ปัจจัยสำคัญในการกำหนดตารางให้อาหารแมวที่เหมาะสำหรับช่วงวัย ข้อดีข้อเสียของการให้อาหารแมวแบบต่าง ๆ รวมถึงวิธีเลี้ยงลูกแมว 1 เดือนและการให้อาหารแมว 2 เดือนอย่างถูกต้อง

การให้อาหารแมวอย่างอิสระ

การให้อาหารอย่างอิสระคือการเทอาหารทิ้งไว้ให้แมวกินตลอดทั้งวัน วิธีนี้สอดคล้องกับพฤติกรรมการกินของแมวที่มักจะกินอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่กินหลายมื้อต่อวัน อีกทั้งยังเหมาะสำหรับพ่อแม่แมวที่มีงานยุ่งด้วย อย่างไรก็ตาม ควรดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันไม่ให้แมวกินอาหารมากจนเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาน้ำหนักตัวเกินได้

ข้อดี

  • ง่ายและสะดวก – การให้อาหารอย่างอิสระเหมาะสำหรับพ่อแม่แมวที่มีงานยุ่งและไม่มีตารางการให้อาหารแมวที่เฉพาะเจาะจง
  • เหมาะกับพฤติกรรมตามธรรมชาติ – แมวป่าเป็นสัตว์นักล่า พวกเค้าไม่ได้กินอาหารเป็นเวลา แต่จะกินอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ ตลอดทั้งวัน ซึ่งพฤติกรรมนี้ก็สืบทอดมาถึงแมวบ้านด้วยเช่นกัน
  • ลดความวิตกกังวล – แมวบางตัวอาจรู้สึกเครียดน้อยลง เนื่องจากสามารถกินอาหารได้ทุกเมื่อตามที่ต้องการ

ข้อเสีย

  • เสี่ยงต่อการกินอาหารมากเกินไป – หากไม่ได้กำหนดปริมาณที่เหมาะสม แมวบางตัวอาจกินอาหารมากเกินไป ส่งผลให้เกิดโรคอ้วนและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
  • สังเกตพฤติกรรมได้ยาก – เนื่องจากไม่มีตารางให้อาหารแมวอย่างชัดเจน จึงเป็นเรื่องยากที่จะสังเกตพฤติกรรมการกิน การเปลี่ยนแปลง หรืออาการผิดปกติอื่น ๆ
  • อาหารเน่าเสีย – การเทอาหารทิ้งไว้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะในวันที่มีอากาศร้อน อาจทำให้อาหารบูดหรือเน่าเสีย และเมื่อแมวกินเข้าไปอาจก่อให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหารได้

การให้อาหารแมวตามเวลา

การให้อาหารตามเวลาคือการให้อาหารแมวตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ตลอดทั้งวัน วิธีนี้ช่วยให้คุณควบคุมปริมาณอาหารได้ง่ายขึ้น รวมถึงทำให้สังเกตพฤติกรรมการกินและอาการผิดปกติต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับแมวที่มีข้อจำกัดด้านการกินหรือมีแนวโน้มที่จะกินอาหารมากเกินไป

ข้อดี

  • ควบคุมปริมาณอาหารได้ดี – การให้อาหารเป็นเวลาจะช่วยให้คุณควบคุมปริมาณอาหารได้ดีขึ้น ซึ่งลดปัญหาการกินอาหารมากเกินไปและการเกิดโรคอ้วนในแมว
  • สังเกตพฤติกรรมได้ง่าย – การให้อาหารเป็นเวลาจะทำให้คุณสังเกตพฤติกรรม ความเปลี่ยนแปลง หรืออาการผิดปกติที่อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ง่ายขึ้น
  • มีแบบแผนและคาดเดาได้ – แมวบางตัวจะรู้สึกสบายใจเมื่อมีตารางกิจกรรมที่คาดเดาได้

ข้อเสีย

  • มีแบบแผนชัดเจน – เนื่องจากต้องให้อาหารแมวตามกำหนดทุกวัน จึงไม่เหมาะสำหรับพ่อแม่แมวที่มีตารางเวลาไม่แน่นอน
  • สร้างความวิตกกังวล – แมวบางตัวอาจรู้สึกกังวลหรือเครียดเนื่องจากต้องรอให้ถึงเวลาอาหาร โดยเฉพาะแมวที่คุ้นเคยกับการกินอาหารอย่างอิสระ
  • ไม่เหมาะกับพฤติกรรมการกินตามธรรมชาติ – ตารางให้อาหารแมวแบบนี้อาจไม่เหมาะกับแมวที่ชอบกินอาหารมื้อเล็ก ๆ ตลอดวัน

การเลือกวิธีให้อาหารขึ้นอยู่กับความต้องการและความชอบของแมวและผู้เลี้ยง แมวบางตัวชอบความยืดหยุ่น พวกเค้ารู้สึกสบายใจกับการกินอาหารอย่างอิสระ ในขณะที่แมวบางตัวก็ชอบทำตามตารางกิจกรรมที่เป็นแบบแผน อย่างไรก็ตาม การเลือกวิธีให้อาหารแมวที่ดีที่สุด ผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงสุขภาพ วิถีชีวิต นิสัย และพฤติกรรมของแมวเป็นหลัก หากมีข้อสงสัยหรือกังวลใจก็สามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

ควรให้อาหารแมวกี่มื้อต่อวัน?

อาหารมีบทบาทสำคัญต่อการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี พ่อแม่แมวจึงจำเป็นต้องเลือกอาหารคุณภาพสูง มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน รวมถึงต้องกำหนดปริมาณและจำนวนมื้ออาหารให้เหมาะสมด้วย ซึ่งพิจารณาได้จากปัจจัยเหล่านี้

  1. อายุ


    การให้อาหารที่เหมาะกับช่วงวัยเป็นสิ่งสำคัญ คุณจำเป็นต้องทำความเข้าใจวิธีเลี้ยงแมวอายุ 1 เดือน แมวโต และแมวสูงวัย เนื่องจากพวกเค้ามีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างกัน โดยลูกแมวควรได้รับอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งเพื่อรองรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่รวดเร็ว แต่เมื่อโตเต็มวัยแล้ว แนะนำให้ปรับเหลือเพียงวันละ 2 – 3 มื้อ

    สำหรับวิธีเลี้ยงลูกแมว 1 เดือน พวกเค้าควรได้รับนมแม่เป็นแหล่งโภชนาการหลัก แต่ในกรณีที่แม่แมวไม่ยอมให้นม ไม่มีน้ำนม หรือเป็นลูกแมวกำพร้าแม่ คุณสามารถให้นมทดแทนได้ โดยแนะนำให้ป้อนนมทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง เนื่องจากลูกแมวมีท้องขนาดเล็ก ไม่สามารถกินนมทีละมาก ๆ ได้

    เมื่ออายุ 6 สัปดาห์ ลูกแมวจะเริ่มหย่านม ค่อย ๆ ให้ลองกินอาหารสูตรลูกแมวได้แล้ว โดยแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ 4 – 5 มื้อต่อวัน จากนั้นเมื่อลูกแมวอายุ 8 สัปดาห์ ให้เพิ่มปริมาณอาหารแต่ละมื้อ และค่อย ๆ ลดจำนวนมื้ออาหารลง

    ต่อกันที่การให้อาหารแมว 2 เดือน ลูกแมววัยนี้ควรกินอาหารวันละ 3 – 4 มื้อ แต่ละมื้อควรกำหนดปริมาณให้เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน ส่วนวิธีการให้อาหารแมว 2 เดือนที่แนะนำคือการให้อาหารแบบผสม เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเค้าจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล การผสมอาหารเปียกและอาหารเม็ดเข้าด้วยกัน จะช่วยเพิ่มเนื้อสัมผัส เพิ่มรสชาติความอร่อย และดึงดูดความสนใจเจ้าเหมียวได้เป็นอย่างดี

    การกำหนดตารางการให้อาหารที่ชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแมวทุกวัย วิธีนี้จะช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารและป้องกันการกินอาหารมากเกินไป โดยทั่วไปเวลาที่ดีที่สุดในการให้อาหารแมวคือช่วงเช้าและเย็น ซึ่งสอดคล้องกับสัญชาตญาณการล่าตามธรรมชาติของแมว

  2. การเลือกอาหาร


    หมั่นสังเกตดูว่าแมวของคุณชอบอาหารชนิดใด อาหารเปียกหรืออาหารเม็ด ความชอบนี้อาจทำให้ตารางการให้อาหารแมวเปลี่ยนแปลงได้

  3. น้ำหนักตัว


    ควรกำหนดปริมาณอาหารให้สอดคล้องกับน้ำหนักตัวของแมว สำหรับแมวที่มีน้ำหนักเกินอาจต้องลดปริมาณอาหารและจำนวนมื้อลง ในทางกลับกัน แมวที่มีน้ำหนักตัวน้อยอาจต้องการอาหารมากขึ้นและบ่อยขึ้น ขอแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อค้นหาปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับเจ้าเหมียวที่คุณรัก

  4. ปัญหาสุขภาพ


    แมวที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานหรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป อาจจำเป็นต้องให้อาหารสูตรพิเศษและทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

  5. ตารางการให้อาหารแมว


    พ่อแม่แมวทุกคนควรเรียนรู้และทำความเข้าใจวิธีการให้อาหาร รวมไปถึงวิธีเลี้ยงแมวอายุ 1 เดือน ตลอดจนการดูแลแมวในแต่ละช่วงวัย สิ่งนี้จะช่วยให้คุณวางแผนการให้อาหารได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยอาจให้อาหารตามเวลาทุกวัน ทำจนเป็นกิจวัตร เพราะทำให้แมวรู้สึกสบายใจ อีกทั้งยังช่วยเสริมการทำงานของระบบเผาผลาญและระบบย่อยอาหารด้วย

  6. ปริมาณน้ำที่ควรได้รับต่อวัน


    อาหารเปียกช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในแต่ละวันได้ ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับแมวที่กินน้ำน้อย อย่างไรก็ตาม ควรกระตุ้นให้แมวกินน้ำมากขึ้นด้วยเพื่อสุขภาพที่ดี

  7. แมวสูงวัย


    เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและความต้องการทางโภชนาการของแมวสูงวัย ควรเปลี่ยนมาให้อาหารมื้อย่อย ๆ แต่หลายมื้อตลอดวัน แนะนำให้พาเจ้าเหมียวไปตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วย โดยสัตวแพทย์อาจช่วยปรับแผนการให้อาหารให้ตรงกับความต้องการของแมวสูงอายุแต่ละตัวได้

  8. ขนมแมว


    เราสามารถให้ขนมเป็นรางวัลสำหรับเจ้าเหมียวได้ แต่ควรจำกัดปริมาณให้เหมาะสมเพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักตัวเกินและความไม่สมดุลทางโภชนาการ แนะนำให้เลือกขนมแมวที่มีแคลอรีต่ำ อย่างขนมแมวเทมเทชันส์™ มาพร้อมพ็อคเก็ตสอดไส้ครีมแสนอร่อย กรอบนอกนุ่มใน อร่อยเพลินไม่ต้องกลัวอ้วน เพราะเม็ดละ 2 กิโลแคลอรีเท่านั้น สิ่งที่คุณต้องทำก็แค่เขย่าซอง แล้วรอเจ้าเหมียวพุ่งตัวมาหาได้เลย!

  9. ความชอบ


    คอยสังเกตกิจวัตร พฤติกรรม และความชอบของแมว แมวบางตัวชอบกินอาหารตลอดทั้งวัน ในขณะที่บางตัวก็ชอบกินอาหารเป็นเวลา

ตารางให้อาหารแมวตามช่วงวัยและน้ำหนักตัว

ลูกแมวแรกเกิด

สำหรับลูกแมวแรกเกิด พ่อแม่แมวจำเป็นต้องให้นมทดแทนทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง ปริมาณ 2 – 6 มล. ต่อครั้ง ในช่วงวัยนี้ น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยของลูกแมวจะอยู่ระหว่าง 50 – 150 กรัม (1.7 – 5.2 ออนซ์)

ลูกแมว 1 – 4 สัปดาห์

เมื่อลูกแมวอายุ 1 – 2 สัปดาห์ ตารางการให้อาหารแมวจะปรับเปลี่ยนเล็กน้อย โดยให้ป้อนนมทุก 3 – 4 ชั่วโมง และเพิ่มปริมาณเป็น 6 – 10 มล. ต่อครั้ง น้ำหนักของลูกแมว ควรอยู่ที่ประมาณ 150 – 250 กรัม (5.2 – 8.8 ออนซ์)

เมื่อลูกแมวของคุณอายุครบ 2 สัปดาห์ ควรป้อนนมทุก ๆ 4 – 5 ชั่วโมง และเพิ่มปริมาณเป็น 10 – 14 มล. อย่าลืมติดตามน้ำหนักของลูกแมวกันด้วย ลูกแมววัยนี้ควรหนักประมาณ 250 – 350 กรัม (8.8 – 12.4 ออนซ์)

ต่อกันด้วยวิธีเลี้ยงลูกแมว 1 เดือน หรือลูกแมวอายุประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ สามารถเพิ่มปริมาณการให้ต่อครั้งได้ โดยให้ประมาณ 14 – 18 มล. และให้ทุก ๆ 4 – 5 ชั่วโมง ลูกแมววัยนี้จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและขี้เล่นมากขึ้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีเลี้ยงแมวอายุ 1 เดือน คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้

ลูกแมว 4 – 8 สัปดาห์

ลูกแมวกำลังเข้าสู่ช่วงหย่านม คุณสามารถเริ่มให้อาหารสูตรลูกแมวกับพวกเค้าได้ โดยผสมอาหารเปียกปริมาณเล็กน้อยกับนมทดแทน และให้อาหารทุก ๆ 5 – 6 ชั่วโมง ปริมาณ 18 – 22 มล. ต่อครั้ง น้ำหนักของลูกแมวจะอยู่ระหว่าง 450 – 550 กรัม (15.9 ออนซ์ – 1.1 ปอนด์)

การให้อาหารแมว 2 เดือน หรือเมื่อลูกแมวมีอายุประมาณ 5 – 8 สัปดาห์ คุณอาจให้อาหารเปียกสูตรลูกแมวโดยไม่จำกัดปริมาณทุก ๆ 6 ชั่วโมง เพื่อรองรับความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นของลูกแมว เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 น้ำหนักของลูกแมวควรอยู่ที่ประมาณ 550 – 850 กรัม (1.1 – 1.5 ปอนด์)

ลูกแมว 8 – 16 สัปดาห์

ตั้งแต่ 8 สัปดาห์ถึง 16 สัปดาห์ ตารางให้อาหารแมวจะเปลี่ยนเป็นทุก ๆ 6 – 8 ชั่วโมง ลูกแมวจะหย่านมโดยสมบูรณ์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวจะได้รับพลังงานประมาณ 250 – 360 แคลอรีต่อวัน และจับตาดูน้ำหนักตัวของพวกเค้าอย่างใกล้ชิด แนะนำให้อ่านฉลากบนบรรจุภัณฑ์อาหารของลูกแมวเสมอ เพื่อกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมในแต่ละวัน

ลูกแมว 4 – 11 เดือน

เมื่อลูกแมวโตขึ้นจนมีอายุ 4 – 11 เดือน ความต้องการทางโภชนาการของลูกแมวก็จะเปลี่ยนไป ปรับเวลาให้อาหารเป็นทุก ๆ 8 – 12 ชั่วโมง และกำหนดปริมาณอาหารตามน้ำหนักตัว หรือ 60 – 65 แคลอรีต่อน้ำหนักตัวประมาณ 0.5 กรัม (1 ปอนด์) เช่น หากลูกแมวหนัก 2.7 กก. (6 ปอนด์) คุณควรให้อาหารประมาณ 390 แคลอรีต่อวัน การตรวจสอบน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอถือเป็นสิ่งสำคัญในช่วงวัยนี้

ลูกแมว 12 เดือนขึ้นไป

เมื่อมีอายุ 12 เดือนขึ้นไป ลูกแมวจะเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัย สามารถปรับตารางการให้อาหารแมวได้ตามความเหมาะสม หรือให้อาหารทุก 8 – 12 ชั่วโมง ประมาณ 2 – 3 มื้อต่อวัน และปรับปริมาณแคลอรีเป็น 20 – 33 ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งปอนด์ อย่างไรก็ตาม ควรปรับปริมาณแคลอรี่และเวลาให้อาหารตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น สายพันธุ์ อายุ และสุขภาพโดยรวม แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับตารางให้อาหารแมวของคุณเพิ่มเติม

อาหารที่ไม่ควรให้แมวกิน

นอกจากการเรียนรู้วิธีเลี้ยงแมวอายุ 1 เดือน การให้อาหารแมว 2 เดือน และการให้อาหารแบบต่าง ๆ แล้ว พ่อแม่แมวควรระมัดระวังส่วนผสมบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายกับเจ้าเหมียวด้วย เนื่องจากแมวมีความต้องการอาหารที่เฉพาะเจาะจง และอาหารของคนบางชนิดก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เช่น

  1. ช็อกโกแลต


    ช็อกโกแลตมีสารทีโอโบรมีนและคาเฟอีน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นพิษต่อแมว และอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ตั้งแต่คลื่นไส้ ท้องเสีย หายใจถี่ ไปจนถึงมีอาการชักอย่างรุนแรง

  2. กาแฟ


    พ่อแม่แมวหลาย ๆ คนอาจชื่นชอบการดื่มกาแฟในยามเช้า แต่สำหรับเจ้าเหมียว กาแฟคือเมนูอันตราย โดยคาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟ ชา และน้ำอัดลมบางชนิดอาจทำให้แมวมีอาการผิดปกติคล้ายกับการกินช็อกโกแลตได้

  3. หัวหอมและกระเทียม


    หัวหอมและกระเทียมมีสารที่อาจเป็นอันตรายต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงของแมว ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

  4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์


    แมวอาจเป็นอันตรายและมีอาการผิดปกติอย่างรุนแรงหากได้รับแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย แม้จะในปริมาณเล็กน้อยก็ตาม เอทานอลซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เซื่องซึม และในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว

  5. องุ่นและลูกเกด


    แม้จะยังไม่รู้แน่ชัดว่าสารชนิดไหนในองุ่นและลูกเกดที่เป็นอันตราย แต่การกินองุ่นหรือลูกเกดอาจทำให้แมวมีอาการไตวายได้

    นอกเหนือจากรายการข้างต้นแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายด้วย เช่น อะโวคาโด กระดูก ไข่ดิบ และถั่วบางชนิด ทั้งนี้หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับส่วนผสมหรืออาหารบางชนิด สามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพิ่มเติมได้

    การให้อาหารแมวไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งสำคัญคือการเลือกอาหารที่ตรงตามความต้องการทางโภชนาการของแมว รวมถึงควรวางแผนการให้อาหารที่เหมาะกับช่วงวัย น้ำหนัก และปัญหาสุขภาพของแมวด้วย สำหรับพ่อแม่แมวที่กำลังตัดสินใจเลือกวิธีการให้อาหาร เราขอแนะนำให้พิจารณาจากพฤติกรรมการกิน ความชอบ และไลฟ์สไตล์ของแมวเป็นหลัก เพื่อให้เจ้าเหมียวของคุณมีความสุขกับการกินอาหารในแต่ละวัน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารแมว

 
  1. ควรให้แมวกินอาหารเม็ดหรืออาหารเปียก?

    สามารถเลือกตามความชอบของแมว แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับสุขภาพโดยรวมของพวกเค้าด้วย อาหารทั้งสองชนิดมีข้อดีแตกต่างกัน อาหารเม็ดมีส่วนช่วยในการดูแลรักษาสุขภาพฟัน ในขณะที่อาหารเปียกช่วยให้แมวได้รับน้ำที่เพิ่มขึ้น คุณอาจผสมอาหารทั้งสองชนิดเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความหลากหลายของเนื้อสัมผัสและรสชาติ

  2. แมวไม่กินอาหารได้นานสุดกี่วัน?

    โดยทั่วไปแล้ว แมวอดอาหารได้นาน 24 – 48 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตพฤติกรรมของพวกเค้าอย่างใกล้ชิด หากแมวไม่กินอาหารติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและค้นหาอาการผิดปกติที่อาจซ่อนอยู่ในทันที

  3. ควรให้อาหารแมววันละกี่มื้อ?

    การกำหนดจำนวนมื้ออาหารขึ้นอยู่กับช่วงวัย ลูกแมว แมวโต และแมวสูงวัยมีความต้องการทางโภชนาการต่างกัน ปริมาณอาหารที่ควรได้รับก็ต่างกัน สำหรับวิธีเลี้ยงลูกแมว 1 เดือน คุณต้องป้อนนมทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง ส่วนการให้อาหารแมว 2 เดือน คุณควรแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อย ๆ ประมาณ 3 – 4 มื้อต่อวัน และเมื่อลูกแมวโตขึ้นจนกลายเป็นแมวโตเต็มวัย ก็ค่อย ๆ ลดจำนวนมื้ออาหารลงให้เหลือเพียงวันละ 2 มื้อ  ทั้งนี้คุณสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะกับความต้องการเฉพาะของแมวเพิ่มเติมได้

  4. วิธีที่ดีที่สุดในการเลี้ยงแมวคืออะไร?

    ไม่ว่าจะเป็นวิธีเลี้ยงลูกแมว 1 เดือน แมวโตเต็มวัย หรือแมวสูงอายุ สิ่งสำคัญคือการตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของพวกเค้าอย่างเหมาะสม เลือกอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนและสมดุล สามารถเลือกให้อาหารแบบใดก็ได้ แต่ควรคำนึงถึงสุขภาพ พฤติกรรม และไลฟ์สไตล์ของแมวเป็นหลัก

  5. ควรให้แมวกินขนมมากน้อยแค่ไหนในแต่ละวัน?

    พ่อแม่แมวมือใหม่อาจยังสงสัยและกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงดูแมว โดยเฉพาะวิธีเลี้ยงลูกแมว 1 เดือน แมวโต แมวสูงวัย รวมถึงวิธีการให้อาหารและการให้ขนมอย่างเหมาะสม ต้องบอกก่อนว่าขนมแมวไม่ใช่อาหารทดแทน ไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางโภชนาการได้อย่างครบถ้วน และควรควบคุมปริมาณให้พอดี วิธีง่าย ๆ ที่จะหลีกเลี่ยงการกินขนมมากเกินไป คือการเลือกขนมแมวที่มีแคลอรีต่ำ อย่างเทมเทชันส์™ ขนมแมวสอดไส้ครีม กรอบนอกนุ่มใน อร่อยได้โดยไม่ต้องกลัวอ้วน เพราะหนึ่งเม็ดให้พลังงานแค่ 2 กิโลแคลอรีเท่านั้น!

X

ซื้อเลย